การใช้งาน
งานเพิ่มกำลังการผลิตเตาเผาของโรงปูนซีเมนต์ในมาเลเซีย
ปัญหาที่พบ
- ปริมาณฝุ่นที่ปล่อยออกมามีค่าเกินกว่ามาตรฐานที่กรมควบคุมมลพิษของท้องถิ่น กำหนดไว้ ทั้งนี้ เนื่องจากกำลังการผลิตที่เพิ่มขึ้น 5% ส่งผลให้ปริมาณลมร้อนที่เข้าสู่
ESP มีมากขึ้น
- ความท้าทายของโปรเจคนี้ เริ่มต้นจาก การออกแบบเพื่อเพิ่มพื้นที่ดักจับฝุ่นใน ESP ตัวที่ใช้อยู่ปัจจุบัน การเชื่อมต่อของ ESP ห้องใหม่กับตัวปัจจุบัน ฐานรากและโครงสร้างเพื่อรองรับ ESP ห้องใหม่ อีกทั้งยังมีข้อจำกัดของภาษาที่ใช้สื่อสาร เนื่องจากวิศวกรและคนงานใช้ภาษาต่างกันถึง 4 ภาษา
- ความแตกต่างด้านวัฒนธรรม เนื่องจากหัวหน้าผู้รับเหมาเป็นบริษัทจากประเทศไทย Tai & Chyun ซึ่งเป็นบริษัทไต้หวัน และยังมีทีมผู้รับเหมามาจากบริษัทท้องถิ่นในมาเลเซีย ดังนั้นจึงทำให้ใช้เวลานานในการเจรจาต่อรองและตัดสินใจ
การแก้ไข
เพิ่มพื้นที่ดักจับฝุ่น โดยการเพิ่มห้องใหม่ให้กับ ESP ตัวปัจจุบัน ซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณที่จำกัด การเพิ่มห้องใหม่ ช่วยเพิ่มระยะเวลาการเคลื่อนที่ของลมร้อนภายใน ESP ให้มากขึ้น ส่งผลให้ประสิทธิภาพในการดักจับฝุ่นเพิ่มมากขึ้นด้วย โดยตำแหน่งการเพิ่มห้องใหม่เป็นไปตามภาพนี้

ผลลัพธ์
การก่อสร้างฐานรากและโครงสร้างด้านนอกที่สำคัญเริ่มขึ้นตั้งแต่วันที่ 8 กันยายน 2009 จากนั้นจึงเริ่มติดตั้งชิ้นส่วนภายในหลังจากปิดซ่อมบำรุงวันที่ 27 กันยายน 2009 การติดตั้งทั้งหมดแล้วเสร็จ ภายใน16 วันตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ ในวันที่ 12 ตุลาคม 2009 ในวันดังกล่าว วิศวกรของ Tai & Chyun ได้ทำการตรวจสอบระบบที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ซึ่งได้แก่ Open Circuit Test, Air Load Test, และ Dust Load Test กราฟ VI ขณะทำการทดสอบ Air Load Test แสดงกระแสไฟสูงสุดที่ 70kV/ 2000mA ซึ่งเป็นไปตามที่ได้ออกแบบไว้ หลังการทดสอบระบบและส่งมอบงานจนถึงทุกวันนี้ ESP สามารถใช้งานได้ตามปกติ
ตารางด้านล่าง แสดงค่าการเปรียบเทียบประสิทธิภาพของ ESP ก่อนและหลังอัพเกรด:
ดีไซน์ต้นแบบ | ดีไซน์ใหม่ | |
ปริมาณลมร้อน (Nm3/min) | 2,300 | 2,717 |
อุณภูมิลมร้อน(℃) | 230 | 280 |
ประสิทธิภาพการดักจับฝุ่น(%) | 15g/Nm3→0.1g/Nm3
(99.33%) |
0.05g/Nm3
(99.66%) |
รูปร่างภายนอกของ ESP | ![]() |
![]() |