โดยปกติ เราสามารถซ่อมแผ่นรับฝุ่น(CP) ได้หรือไม่ และจะมีผลต่อค่า mA, kV หรือ สปาร์กหรือไม่

หากมีรอยแตกหรือรูรั่วบนแผ่นรับฝุ่น แผ่นจะซ่อมแซมได้โดยการใช้แผ่นเสริมและเชื่อมติดด้วยกัน หากแผ่นรับฝุ่นเกิดการงอ สามารถทำการดัดได้ด้วยเครื่องมือพิเศษหรือการใช้ความร้อน แต่อย่างไรก็ดีเป็นการยากที่จะได้ผลลัพท์ที่สมบูรณ์จากการซ่อมแซม โดยเฉพาะแผ่นอิเล็กโตรทที่มีความยาว ≥10 เมตร

อย่างไรก็ตาม ผลลัพท์หลังจากซ่อมแผ่นรับฝุ่นที่เสียหายจะแสดงค่า kV และ mA ที่ดีขึ้น (10-20%) แต่ประสิทธิภาพการทำงานที่ปรับปรุงนี้จะไม่เท่ากับการเปลี่ยนแผ่นรับฝุ่นใหม่ทั้งหมด

ประโยชน์ของลวดปล่อยประจุแบบหนาม (RDE) คืออะไรบ้าง

  • ลดการซ่อมบำรุง และยืดเวลาการใช้งาน
  • เพิ่มพื้นที่การปล่อยโคโรน่าได้เยอะ
  • มีประสิทธิภาพการทำงานของ ESP สูงกว่าในพารามิเตอร์เดียวกัน
  • ลดแรงดันเริ่มเกิดโคโรนา (corona onset voltage)
  • แข็งแรงและมั่นคงเพื่อประสิทธิภาพในการเคาะที่ดีที่สุดและเพื่อประสิทธิภาพการทำความสะอาด
  • คงประสิทธิภาพของ ESP
  • ติดตั้งง่าย
  • สามารถติดตั้งกับเฟรมของลวดอิเล็กโตรทเดิม ซึ่งประหยัดค่าใช้จ่าย
  • ลดระยะการปิดทำงานของ ESP เพื่อมาดัดแปลงลวดปล่อยประจุ

การติดตั้ง RDE

ทำไมต้องเปลี่ยนเป็น RDE

RDE ช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพของลวดอิเล็กโตรท ซึ่งทำให้ ESP มีประสิทธิภาพการทำงานดีขึ้น เนื่องจาก RDE ปล่อยกระแสไฟได้สูงกว่า และแก้ไขข้อด้อยของลวดอิเล็กโตรทชนิดอื่นๆตามด้านล่างนี้

  • ลวดอิเล็กโตรทแบบเส้น (Wire type DE) ลวดอิเล็กโตรทชนิดนี้ ขาดง่าย ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดไฟฟ้าลัดวงจรและมีผลต่อการทำงาน
  • ลวดอิเล็กโตรทแบบใบมีด (Stap type DE) ลวดชนิดนี้ขึ้นอยู่กับการกลายสภาพวัสดุและการคลายตัว การปล่อยประจุโคโรน่าเป็นเวลานานกับการสึกกร่อนของลวดอิเล็กโตรท จะทำให้ลวดอิเล็กโตรทบางลง จึงเป็นสาเหตุของการคลายตัวและผิดรูปร่างของลวดอิเล็กโตรท ซึ่งจะนำไปสู่การเกิดสปาร์ค/อาร์ค และทำให้ลวดอิเล็กโตรทขาด
  • ลวดอิเล็กโตรทแบบสปริง (Spring type DE) มีพื้นผิวที่บางและมีแรงไฟฟ้าในการสร้างโคโรน่าน้อย ดังนั้นจึงไม่เหมาะสำหรับการดักจับฝุ่นที่มีจำนวนมาก อีกทั้งดีไซน์ของลวดมีแนวโน้มที่จะเกิดปัญหาฝุ่นจับตัวกัน

ทำไม RDE ของไทแอนด์ชยุนดีกว่าที่อื่น

  • ผลิตมาด้วยโลหะชิ้นเดียวปราศจากรอยต่อเพื่อป้องกันปัญหาการหลุดร่วงของหนาม
  • RDE ของเราหนากว่า จึงยากต่อการหัก
  • ไทแอนด์ชยุนใช้เหล็กจากผู้ผลิตเหล็กที่ดีที่สุดในประเทศไต้หวัน จึงมั่นใจในคุณภาพของ RDE ที่ดีกว่า สอดคล้องกับประสิทธิภาพการทำงาน
  • ดีไซน์ RDEของไทแอนด์ชยุนเน้นส่วนหนาม ซึ่งเป็นสามารถปล่อยโคโรน่าได้อย่างสม่ำเสมอ นำไปสู่การเสถียรภาพในทำงานของ ESP

   

คุณภาพวัสดุของแผ่นรับฝุ่น(CP)เกี่ยวข้องกับปัญหาการเสื่อมสภาพหรือความเสียหายของส่วนภายในหรือไม่

คุณภาพของวัสดุเหล็กเป็นส่วนสำคัญ คุณภาพที่ดีกว่า จะให้ ความคงทนมากกว่า และให้คุณสมบัติทางกล ไทแอนด์ชยุนให้ความสำคัญในคุณภาพสินค้า เราสามารถให้ใบทดสอบคุณสมบัติ อาทิเช่น องค์ประกอบเคมีของโหละ เพื่อให้ลูกค้ามั่นใจในคุณภาพของเหล็กที่ใช้

แผ่นรับฝุ่นที่แตกหัก

ฝุ่นเกาะจับบนแผ่นรับฝุ่น

แผ่นรับฝุ่นที่เสียรูป

อะไรคือสาเหตุที่แท้จริงของปัญหาแผ่นรับฝุ่น(CP)

สาเหตุของปัญหาแผ่นรับฝุ่นเป็นไปตามด้านล่างนี้

  • รอยร้าวบนแผ่นรับฝุ่นด้านล่าง เกิดจากการแรงเคาะที่ผิดปกติ
  • แผ่นรับฝุ่นมีรู เกิดจากการกัดกร่อนเมื่อเกิดอาร์ค (Arcs)
  • แผ่นบางลง เกิดจากการใช้งานเป็นเวลายาวนาน
  • ตะขอเกี่ยวแขวนของแผ่นรับฝุ่นหลวมและไม่เชื่อมต่อกัน เกิดจากการติดตั้งที่ไม่ถูกวิธี

การรั่วไหลของอากาศมีผลกระทบต่อประสิทธิภาพการทำงานของแผ่นรับฝุ่น(CP)อย่างไร

การรั่วไหลของอากาศทำให้แผ่นรับฝุ่นสึกกร่อนง่ายเนื่องจากเกิดความชื้น อีกทั้งยังเป็นสาเหตุของฝุ่นแน่นหนืด ซึ่งนำไปสู่ปัญหาการก่อตัวของฝุ่นบนแผ่นรับฝุ่น

อะไรคือสาเหตุหลักที่ทำให้แผ่นรับฝุ่น(CP)โก่งงอ

  • ถังเก็บขี้เถ้าเต็มมากจนล้นไปถึงแท่นค้อนเคาะ
  • การโก่งงอของแท่นค้อนเคาะ
  • การแยกออกจากกันของตัวเชื่อม (interlock)
  • แผ่นรับฝุ่นอยู่ในสภาพอุณหภูมิสูงเนื่องจากปัญหาที่กระบวนการผลิต
  • คุณภาพสินค้าไม่ดี
  • การเชื่อมระหว่างติดตั้งไม่ถูกต้อง

ความหนาของฝุ่นบนแผ่นรับฝุ่น(CP)ระดับไหนที่ยอมรับได้ก่อนที่จะจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนแผ่น

ระดับความทนทาน(tolerance level )ของการจับตัวของฝุ่นบนแผ่นรับฝุ่นควรอยู่ในช่วง 0.8 ถึง 12.7 มิลลิเมตร หากเกินระดับนี้ จะอยู่ในระดับที่มีปัญหาการจับตัวของฝุ่น

ความหนาของฝุ่นส่งผลกระทบต่อแรงไฟฟ้า อาทิเช่น จะนำไปสู่การเกิดสปาร์คอย่างรุนแรง ซึ่งเป็นตัวจำกัดแรงดันไฟฟ้าและกระแสไฟฟ้า

เป็นผลทำให้ค่า kV และ mAลดลงตามการเกิดสปาร์คที่สูง ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะเปลี่ยนแผ่นรับฝุ่น เพื่อทำให้การทำงานของ ESP ดีขึ้น

หากพบแผ่นรับฝุ่น(CP)ขาดหาย ควรจะทำอะไรในระหว่างที่รอการเปลี่ยนแผ่นใหม่

ขึ้นอยู่กับเปอร์เซ็นต์ของแผ่นรับฝุ่นที่หายไป หากจำนวนที่ขาดหายมากกว่า 10% จากจำนวนแผ่นในแต่ละห้อง จะมีผลกระทบกับสถาพของ ESP และการทำงาน ทำให้ค่าฝุ่นช่วงทางออกสูง ดังนั้น การเปลี่ยนแผ่นรับฝุ่นควรปฎิบัติอย่างเร่งด่วน ในกรณีที่แผ่นรับฝุ่นขาดหายจนเป็นสาเหตุให้ประสิทธิภาพการทำงานของ ESPลดลงมาก ควรเปลี่ยนแผ่นรับฝุ่นใหม่ทันที

ในขณะเดียวกัน การควบคุมกระบวนการของ ESP และค่าการทำงาน อาทิเช่น การควบคุมอุณหภูมิ การกระจายของก๊าซ การรักษา kV และ mAให้อยู่ในค่าที่เหมาะสม ยิ่งไปกว่านั่น ส่วนต่างๆใน ESP เช่นลวดปล่อยประจุ แผ่นรับใฝุ่น ระบบค้อนเคาะลวดปล่อยประจุ ฉนวนไฟฟ้า และอื่นๆ ต้องรักษาให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้อย่างดี การตรวจสอบและซ่อมบำรุงเป็นประจำจำเป็นที่ตระหนักถึงสภาพของ ESPว่าคงทนเหมาะสมหรือไม่

อะไรคือ cycle time ปกติของการลำเลียงขี้เถ้า

cycle time ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่อไปนี้

  • ขนาดของถังจ่ายวัสดุ (Blow Tank)
  • กำลังของระบขี้เถ้า
  • ระยะทางส่งไปถึงไซโล

Components of Ash Handling System

อะไรเป็นสาเหตุของท่อข้อต่อโค้ง(Elbow Pipe)รั่ว

เนื่องจากแรงเหวี่ยง หรือ ความเฉี่อย เมื่อขี้เถ้าได้ลำเลียงผ่านท่อข้อต่อโค้งจะมีผลกระทบกับ ผนังด้านนอกส่วนโค้ง ซึ่งทำให้เกิดแรงเสียดทานและทำให้ข้อต่อโค้งเสื่อมสภาพและแตกหัก เป็นผลให้ท่อข้อต่อโค้งเกิดรอยรั่ว

ดังนั้น การเสื่อมสภาพของข้อต่อโค้งกลายเป็นส่วนแรกที่ต้องพิจารณาสำหรับระบบลำเลียงขี้เถ้าแบบนิวเมติก (Pnematic) ในขณะที่ปัญหาการเสื่อมสภาพของท่อตรงเป็นปัญหารองลงมา

จะแก้ปัญหาข้อต่อโค้ง (Elbow Pipe) รั่วได้อย่างไร

คำแนะนำ

  • ใช่วัสดุที่แข็งและทนทานต่อการสึกกร่อนอย่างเช่น เซรามิกข้อต่อโค้ง
  • รัศมีความโค้งควรจะเป็น 5 x ขนาดท่อ (R ≥ 5D) หรือมากกว่า
  • ส่วนโค้งต้องเรียบสนิทไม่มีขั้นหรือส่วนที่ยื่นออกมา

 

ระยะทางของท่อลำเลียงในระบบลำเลียงขี้เถ้ามากสุดเท่าไร?

ระยะทางยาวสุดของระบบลำเลียงอยู่ที่ 1,500 เมตรพร้อมส่วนท่อแนวดิ่ง 50 เมตร

ความดันในท่อส่งได้มากสุดเท่าไร

ความดันในท่อส่งมากสุดอยู่ที่ 0.4 Mpa (4kg/cm2)

กำลังท่อส่งของระบบ DEPAC ได้มากสุดเท่าไร

กำลังท่อส่งของระบบ DEPAC สูงสุดอยู่ที่ 250 TPH

เมื่อไรที่คุณจะใช้วาล์วปล่อยด้านล่าง(Bottom Discharge)หรือวาล์วปล่อยด้านบน (Top Discharge)

วาล์วปล่อยด้านบนเป็นวาล์วปล่อยที่เหมาะสมที่สุดที่ใช้เมื่ออนุภาคขนาดเล็ก เช่นขี้เถ้า ส่วนวาล์วปล่อยด้านล่างจะเหมาะสมที่จะใช้กลับวัสดุหยาบหรือวัสดุที่ไหลเวียนไม่ค่อยดี

DEPAC System

สามารถติดตั้งระบบลำเลียงขี้เถ้าโดยที่ไม่หยุดเดินเครื่องได้หรือ

ได้ อย่างไรก็ตาม จำเป็นที่จะต้องปิดวาล์วประตูสไลด์(slide gate) ระหว่างถังเก็บขี้เถ้าของ ESP กับตัวลำเลียง

จะตรวจสอบระบบลำเลียงขี้เถ้าในช่วงหยุดเดินเครื่องอย่างไร

  1. ปิดวาล์วประตูสไลด์(slide gate) ระหว่างถังเก็บขี้เถ้าและทรานสมิตเตอร์ (transmitter)
  2. เปลี่ยนโหมดควบคุมบนตู้คอนโทรลสู่โหมด Local ทั้งหมด
  3. วัดค่าความดัน เช็คการการทำงานของความดัน
  4. วาล์วประตูสไลด์ (slide gate) ตรวจสอบรอยรั่วจากประเก็น
  5. วาล์วทางเข้า (inlet valve) ตรวจสอบการลื่นไหล
  6. อากาศที่วาล์วทางเข้า ตรวจสอบการลื่นไหลและรอยรั่วตรงหน้าแปลน
  7. ทรานสมิตเตอร์(transmitter) ตรวจรอบของการทำงาน

เป็นไปได้หรือไม่ที่จะทำความสะอาด ESPด้วยน้ำ อะไรคือข้อดีและข้อเสีย

เป็นไปได้ที่จะทำความสะอาด ESP ด้วยน้ำ การล้าง ESP ด้วยน้ำมีทั้งข้อดีและข้อเสีย

ข้อดี

  • เป็นวิธีทำความสะอาดที่เร็วที่สุด
  • สามารถทำความสะอาดฝุ่นที่เกาะตัวมากบนแผ่นอิเล็กโตรท ลวดอิเล็กโตรท แผ่นกระจายลม และผนังด้านในของถังเก็บฝุ่น
  • ช่วยแกปัญหาค่าการทำงานที่แย่เนื่องจากฝุ่นที่เกาะตัวกันมาก
  • ปรับปรุงค่าการทำงานให้ดึขึ้นอย่างชัดเจน

ข้อเสีย

  • แผ่นอิเล็กโตรทและลวดอิเล็กโตรทสึกกร่อนได้ง่ายหากส่วนเครื่องกลต่างๆไม่แห้ง
  • ต้องมีการสร้างถังกักตะกอนชั่วคราวเพื่อกักน้ำที่เสีย

ขั้นตอนการทำความสะอาด ESP ด้วยน้ำมีอะไรบ้าง

ก่อนการล้าง ESP ด้วยน้ำ

  • ระบบเคาะแผ่นรับฝุ่น(CP)และลวดปล่อยประจุ(DE)ให้เปิดเคาะทำงานต่อเนื่องในระยะเวลาหนึ่ง
  • เปิดการทำงานของระบบลำเลียงขี้เถ้า 2-3 ชั่วโมงเพื่อทำความสะอาดขี้เถ้าให้หมด
  • หากมีฝุ่นมากใน ESP ต้องทำความสะอาดฝุ่นด้วยตัวเองก่อน

การเตรียมตัวสำหรับการทำความสะอาด ESP ด้วยน้ำ

  • รื้อ cylinder’s fluidized tank ของระบบลำเลียงขี้เถ้า
  • สร้างถังเก็บตะกอนชั่วคราว
  • เตรียมอุปกรณ์สำหรับถ่ายของเสียและท่อ

การทำความสะอาด ESP ด้วยน้ำ

  • เทน้ำจากด้านบนลงด้านล่าง
  • ใช้จำนวนน้ำที่มากเพื่อทำความสะอาดฝุ่น
  • ควรควบคุมความดันของน้ำเพื่อที่ส่วนเครื่องกลใน ESP จะได้ไม่ผิดรูป

หลังจากการทำความสะอาด ESP ด้วยน้ำ

  • ควรเปิดประตูทางเข้า-ออกเพื่อให้ส่วนภายใน ESPแห้งไวยิ่งขึ้น
  • ควรเปิดID fan และฮีตเตอร์ 2-3 ชั่วโมงเพื่อทำให้แห้งขึ้น

การทำความสะอาดด้วยน้ำเหมาะสมกับฝุ่นประเภทไหน

โดยทั่วไปการทำความสะอาดด้วยน้ำสามารถทำได้กับ ESP หลากหลายชนิด ไทแอนด์ชยุนมีประสบการณ์ในการทำความสะอาด ESP ด้วยน้ำในอุตสาหกรรมต่างๆ ทั้ง ปิโตเลียม โรงไฟฟ้า โรงแก้ว และอื่นๆ อย่างไรก็ตามทางเราไม่แนะนำให้ล้างด้วยน้ำสำหรับฝุ่นประเภทที่มีฤทธ์เป็นกรดและกัดกร่อน

Buffet Pool

Bags for collecting wet dust

ESP Water Washing

ระหว่างหยุดเดินเครื่อง ส่วนไหนภายใน ESP ที่ต้องตรวจสอบ มีลำดับขั้นหรือส่วนไหนที่ต้องตรวจสอบก่อนหรือไม่

เราแนะนำอย่างยิ่งให้ทำการตรวจสอบทุกส่วนของ ESP เริ่มจากส่วนไฟฟ้า อาทิเช่น หม้อแปลง (กล่องทอร์มินอล ทดสอบฉนวน V-I Curve ลักษณภายนอกของหม้อแปลง) ลูกถ้วย ฮีทเตอร์ มอเตอร์ค้อนเคาะ คอนโทรลเลอร์ ทดสอบการเคาะ และตามด้วยส่วนเครื่องกล ทั้งด้านนอกและด้านใน ESP สำหรับส่วนด้านนอก ให้เริ่มจากผนัง รวมส่วนหุ้ม และฉนวน ประตูทางเข้า-ออก ซึ่งอาจจะมีปัญหาการรั่วไหล หรือการเสื่อมคุณภาพของปะเก็น หลังจากนั้น เราก็สามารถตรวจสอบช่วงรอยต่อขยาย ท่อทางเข้า และ ทางออก โครงสร้างของ ESP ก็จำเป็นที่จะต้องตรวจสอบเช่นกัน ในส่วนของส่วนภายใน ลำดับจะเป็นไปตามด้านล่างนี้

  • แผ่นกระจายลม (turning vanes/guide vanes)
  • แผ่นอิเล็กโตรท (CE)
  • ลวดอิเล็กโตรท (DE)
  • ระบบค้อนเคาะแผ่นอิเล็กโตรท
  • ระบบค้อนเคาะลวดอิเล็กโตรท
  • ท่อป้องกันการตีกลับของฝุ่น (Protection conduit/corona shield)
  • แผ่นกั้น (Buffle Plates)
  • ถังเก็บขี้เถ้า
  • ห้องใต้หลังคา (Penthouse)

ตารางการตรวจสอบ ESP

การตรวจสอบ ESP

เป็นไปได้หรือไม่ที่จะตรวจสอบเบื้องต้นเพื่อระบุบว่าปัญหาเกิดจากไฟฟ้า หรือเครื่องกล

เป็นไปได้ ในครั้งแรกเราสามารถทำการทดสอบ V-I curve เปรียบเทียบกราฟจากห้องที่อยู่ทางเข้า (Inlet) ไปจนถึงห้องที่อยู่ทางออก (Outlet) เพื่อทำการประเมิน และรักษาสเถียรภาพของ ESP ในช่วงเวลานั้นๆ การเบี่ยงเบนจากสภาพปกติ หรือผลลัพธ์ก่อนหน้าสามารถแสดงให้เห็นว่าเกิดปัญหาบางอย่างกับ ESP ค่าปฐมภูมิที่อ่านได้ (Primary Reading) ควรเป็นไปตามสัดส่วนกับค่าทุติยภูมิที่อ่านได้(Secondary Reading) หากไม่เป็นเช่นนี้ควรคาดการได้ว่าอาจจะมีปัญหาทางด้านไฟฟ้า

จำเป็นหรือไม่ที่จะต้องตรวจสอบ ESP ทุกครั้งที่ปิดเดินเครื่อง

การตรวจสอบ ESP ระหว่างหยุดเดินเครื่องเป็นส่วนที่จำเป็นของกิจวัตรการซ่อมบำรุง ESP และการตรวจสอบการทำงาน เพื่อการทำงานที่ดีของ ESP การตรวจสอบ ESP รวมไปถึงการทดสอบ การวัดพารามิเตอร์ของ ESP การเปรียบเทียบพารามิเตอร์กับสถานะภาพของดีไซน์เดิมหรือค่าเดิม การบันทึกข้อมูลการทำงานของ ESP ข้อมูลเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ต่อการประเมินการทำงานของ ESP และวินิจฉัยปัญหา การวิเคราะห์พารามิเตอร์หลักจะช่วยบ่งชี้ปัญหาที่มีมากมายของ ESP เป็นตัววัดความจำเป็นของการซ่อมบำรุง หรือการเปลี่ยนอะไหล่ใหม่

อะไรเป็นสาเหตุของลูกถ้วยซัพพอร์ท (Support Insulator)แตก

การช๊อตของกระแสไฟฟ้า

  • การเกิดสปาร์คหรืออาร์ก เนื่องจากฝุ่นจับตัวกันหรือมีความชื้น

โหลดที่ไม่เท่ากัน หรือการจัดตำแหน่งผิด

  • การติดตั้งที่ไม่ถูกต้องของลูกถ้วยและระบบลวดอิเล็กโตรท

แรงดันไฟฟ้าหรืออุณหภูมิที่เกิน

  • แรงดันไฟฟ้ามากสุดควรอยู่ที่ 85 ~ 120 kV
  • อุณหภูมิการทำงานอยู่ควรระหว่าง 100˚C ~ 450˚C

วัสดุอะไรบ้างของลูกถ้วยซัพพอร์ท (Support Insulator) ที่ทางไทแอนด์ชยุนมี

ลูกถ้วยซัพพอร์ท (Support Insulator) ส่วนใหญ่ทำมาจาก Alumina-oxide porcelain ซึ่งปกติจะประกอบด้วย อะลูมิเนียม 50% และทั่วไปจะมีการเคลือบผิว เพื่อลดการจับตัวของสิ่งสกปรกและฝุ่น

วัสดุอื่นของลูกถ้วยซัพพอร์ท (Support Insulator) อาทิเช่น ไฟเบอร์กราส หรือเทฟล่อน อาจจะไม่เหมาะสมพอ เนื่องจากความต้านทานความร้อนต่ำและแตกหักง่าย

อะไรคือข้อเสียของลูกถ้วยที่ทำจากจีน

ร้าวและแตกง่าย

  • มีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิอย่างรวดเร็ว
  • คุณสมบัติทางเครื่องกลต่ำ
  • เป็นสื่อนำความร้อนได้ไม่ดีเนื่องจากมีความหนากว่า

ง่ายต่อการเป็นสาเหตุของสปาร์คใน ESP

  • มีความเป็นฉนวนไม่ดีพอเกิดการรั่วไหลของกระแสไฟฟ้า

ทำอย่างไรจึงจะสั่งซื้อลูกถ้วยที่ถูกต้อง

แนะนำลูกค้าแจ้งข้อมูลดังต่อไปนี้กับทางตัวแทนฝ่ายขาย

  • ขนาด (เส้นผ่าศูนย์กลางทั้งด้านนอก ด้านใน ความสูง ความหนา)
  • แบรนด์ผู้ผลิต ESP
  • ค่าการทำงาน kV และ อุณหภูมิ

หากวางแผนจะเปลี่ยนหม้อแปลงที่ใช้อยู่เป็น Powerplus อย่างน้อยต้องเปลี่ยนอะไรบ้างในระบบควบคุม

  • ถอดคอนโทรลเลอร์เดิมและ SCR
  • ติดตั้ง GDU กับคอนโทรลเลอร์เก่า
  • เชื่อมต่อสัญญาณไปที่ PLC/DCS/CCR

สำหรับรายละเอียดสินค้าและการเตรียมติดตั้ง Powerplus ของคุณ ติดต่อสอบถามกับปรึกษาทีมงานเทคนิคของเราได้ ทางเรายินดีให้คำปรึกษาคุณ

Powerplus สามารถวางไว้ที่พื้นแทนบนหลังคาได้หรือไม่

โดยทั่วไป ควรจะวางไว้บนหลังคาของ ESP เพื่อลดค่าอิมพีแดนซ์ (Impedance) ระหว่าง ESP กับ Powerplus เนื่องจาก Powerplus ทำงานในคลื่นความถี่สูง ซึ่งสามารถตอบสนองได้รวดเร็วกว่าหม้อแปลงทั่วๆไป ที่ความถี่อยู่ที่ 60 Hz อย่างไรก็ตาม การติดตั้ง Powerplus บนพื้นก็เป็นไปได้โดยการใช้สายเคเบิลพิเศษ พร้อมทั้งดัดแปลงสายเคเบิลบางสาย แต่ก็มีข้อจำกัดของระยะทางเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาคลื่นรบกวน

จะหลีกเลี่ยงการที่ Powerplus มีอุณหภูมิที่สูงเกินได้อย่างไร

เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาอุณหภูมิที่สูงเกินไป อุณหภูมิโดยรอบจำเป็นต้องรักษาไว้ให้ไม่เกิน 45°C ในขณะที่ PowerPlusได้พัฒนาฟังกชั่นการควบคุมอุณหภูมิเพื่อลดพลังงานอัตโนมัติเมื่ออุณหภูมิเกิน 62°C เพื่อป้องกันการทริป(Trip) อย่างไรก็ตามแนะนำให้ทำความสะอาดฟินแลกเปลี่ยนความร้อน (heat exchanger fin) เป็นประจำเมื่อทำการซ่อมบำรุง Powerplus เพื่อคงประสิทธิภาพการควบคุมอุณหภูมิ

ระยะห่างที่เหมาะสมระหว่างแผ่นรับฝุ่น(CP)และลวดปล่อยประจุ(DE)คือเท่าไร

ระยะห่างระหว่างแผ่นอิเล็กโตรทกับแผ่นรับฝุ่น หรือ ลวดปล่อยประจุกับลวดปล่อยประจุ จะห่างตั้งแต่ 250 -450 มม. แบบเก่าจะใช้ 250 มม.แบบทั่วไปปกติจะใช้ 300-400 มม. และแบบใหม่ล่าสุดจะใช้ 450 มม.

ช่องว่างระหว่างแผ่นรับฝุ่น(CP)กับลวดปล่อยประจุ(DE)ใกล้กันมาก และทำให้ระบบลัดวงจร แก้ปัญหาได้อย่างไรบ้าง

หากช่วงว่างใกล้เกินไปจะเป็นสาเหตุของการโก่งงอ เบี่ยงออก หรือการหักขาด ของแผ่นรับฝุ่นและลวดปล่อยประจุ แผ่นรับฝุ่นและลวดปล่อยประจุเหล่านี้ควรจะนำออกมาเพื่อป้องกัน ESP ทริป อย่างไรก็ตาม จำนวนของแผ่นรับฝุ่นและลวดปล่อยประจุที่สามารถตัดออกได้คือ 10% ของแต่ละห้อง หากมีมากกว่า 10% ที่เสียหาย จำเป็นที่จะต้องพิจารณาเปลี่ยนทั้งห้อง

ระยะห่างระหว่างแผ่นรับฝุ่น(CP)และลวดปล่อยประจุ(DE)ที่สามารถเข้าไปซ่อมแซมแผ่นและลวดที่เสียหายได้คือเท่าไร

ไม่มีกำหนดระยะห่างระหว่างแผ่นรับฝุ่นและลวดปล่อยประจุเพื่องานซ่อมตราบใดที่ปลอดภัยและคนงานสามารถเข้าไปเพื่อซ่อมแซมอย่างปลอดภัย อย่างไรก็ตาม หากไม่สามารถเข้าไปได้ ควรมีการปรึกษากันระหว่างทีมงานซ่อมบำรุงและเจ้าหน้าที่ด้านความปลอดภัยเพื่อพิจารณาในการดัดแปลงทางเข้า

การเสียรูปของแผ่นรับฝุ่น (CP) และลวดปล่อยประจุ (DE) สามารถทำให้ช่องว่างระหว่างกันแคบลงหรือไม่ และสามารถแก้ไขปัญหานี้ได้อย่างไร

หากแผ่นรับฝุ่นและลวดปล่อยประจุมีการผิดรูป แน่นอนว่าจะทำให้ช่องว่างระหว่างแผ่นและลวดแคบลง ซึ่งเป็นสาเหตุที่ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพทำงานของ ESP จึงควรที่จะกำจัดแผ่นรับฝุ่นและลวดปล่อยประจุออกเพื่อป้องกันปัญหาช่องว่างระหว่างกันชิดกันเกินไป การสเปรย์ด้วยน้ำก็สามารถช่วยลดอุณหภูมิการทำงานเพื่อช่วยป้องการเสียรูปของแผ่นรับฝุ่นและลวดปล่อยประจุได้เช่นกัน นอกจากนี้แล้วผู้ดูแลโรงงานจำเป็นที่จะต้องหารอยรั่วต่างๆภายใน ESP เป็นประจำเพื่อป้องกันความชื้นเข้ามาภายใน ESP ป้องกันการกัดกร่อนและการเสียรูป

อะไรที่อาจจะเป็นสาเหตุทำให้แผ่นรับฝุ่น (CP) และลวดปล่อยประจุ (DE) จัดวางไม่ถูกต้อง

  • การแตกหักของลูกถ้วยซัฟพอร์ต (Support Insulator)
  • การติดตั้งที่ไม่เหมาะสมในช่วงติดตั้งส่วนต่างๆ
  • การโก่งงอและผิดรูปของแผ่นรับฝุ่นและลวดปล่อยประจุ
  • การก่อตัวของฝุ่นบนแผ่นรับฝุ่นและลวดปล่อยประจุ

ช่องว่างระหว่างแผ่นรับฝุ่นกับลวดปล่อยประจุใกล้กัน

ลวดปล่อยประจุที่ผิดรูป

การจัดเรียงที่ดีระหว่างแผ่นรับฝุ่นและลวดปล่อยประจุ

ฝุ่นจับตัวกันบนแผ่นรับฝุ่น

ความเป็นไปได้ที่จะเกิดปัญหาในค้อนเคาะมิกิมีอะไรบ้าง

  • ฉนวนไฟฟ้าค้อนเคาะหัก
  • การรั่วไหลของน้ำ
  • คอยล์แตกหัก
  • การจัดเรียงค้อนเคาะไม่ถูกต้อง
  • เทอร์มินอลที่ถูกกัดกร่อน
  • บูทซีล (Boot Seal) เสียหาย
  • ความสูงของลูกสูบ (Plunger) ไม่ถูกต้อง

บูทซีล (Boot Seal) ที่เสียหาย

การรั่วไหลของน้ำ

การจัดเรียงแนวค้อนเคาะไม่ถูกต้อง

เทอร์มินอลที่ถูกกัดกร่อน

จะบำรุงรักษาค้อนเคาะมิกิอย่างไรในระหว่าง ESP หยุดเดินเครื่อง

ทางเครื่องกล

  • ตรวจสอบสภาพของตัวซีลปิดรอบๆค้อนเคาะมิกิ
  • ตรวจสอบฉนวนไฟฟ้าค้อนเคาะ
  • ตรวจสอบการจัดเรียงการเคาะของลูกสูบ (Plunger)
  • ตรวจสอบช่องว่างระหว่างลูกสูบ(Plunger) ช่วงล่างและค้อนเคาะมิกิช่วงล่าง

ทางไฟฟ้า

  • ตรวจสอบความเป็นฉนวนไฟฟ้า HV : ความต้านทานอยู่ที่ 1.5V ระหว่างมีกระแสไฟและไม่มีในเวลา 1 นาที
  • ทดสอบความเฉนวน: ค่าเมกเกอร์ต้องเกิน 50MΩ
  • ตรวจสอบกระแสไฟระหว่างทำงาน

อะไหล่ของค้อนเคาะมิกิที่ควรมีเก็บไว้มีอะไรบ้าง

  • คอยล์ (Coil)
  • ตัวซีล (Seal)
  • ลูกสูบ (Plunger)
  • ฝาครอบยาง (Rubber Cover)

โซนิคฮอร์นสามารถติดตั้งในดีไซน์ที่ไม่มีมาก่อนได้หรือไม่

ได้ โซนิคฮอร์นถูกติดตั้งให้เป็นเครื่องมือเสริมสำหรับการกำจัดฝุ่นเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการดักจับฝุ่น มีฟังก์ชั่นช่วยกำจัดฝุ่นที่เกินด้วยระบบสั่นสะเทือนด้วยเสียงสลายฝุ่นที่จับตัวภายใน ESP เมื่ออนุภาคฝุ่นดูดซับพลังงานโซนิคและแรงสั่นสะเทือน แรงยึดเหนี่ยวของฝุ่นจะอ่อนกำลังและถูกดักจับอย่างง่ายดาย โซนิคฮอร์นส่วนใหญ่จะพบว่าถูกติดตั้งในพื้นที่ดังต่อไปนี้

บนหลังคา: เพื่อช่วยขจัดฝุ่นบนแผ่นอิเล็กโตรทภายใน ESP
ในถังเก็บฝุ่น: ช่วยป้องกันฝุ่นจับตัวในถังเนื่องจากปัญหาอุดตันในลักษณะเป็นสะพาน(bridging) หรือรูหนู (ratholding)

โซนิคฮอร์นช่วยกำจัดฝุ่นได้อย่างไร

โซนิคฮอร์นใช้คลื่นเสียงโซนิคที่ทรงพลังที่ความถี่ระหว่าง 60Hz to125 Hz และ 140~150 เดซิเบลในการทำงานเพื่อขจัดฝุ่นที่สะสมออก

การผลิตคลื่นเสียงของโซนิคฮอร์นเป็นไปตามภาพด้านล่างนี้

อะไรคือความแตกต่างระหว่างเครื่องสร้างแรงสั่นของถังพักเก็บขี้เถ้า(Hopper Vibrator) กับ แอร์แคนนอน (Air Cannon) หากเทียบกับโซนิคฮอร์น ในส่วนของการป้องกันฝุ่นจับตัว

ประเภท

คุณลักษณะ

เทียบกับโซนิคฮอร์น

แอร์แคนนอน (Air Cannon)

ใช้คอมเพรสแอร์ขจัดวัสดุที่มีลักษณะเป็นผง

 
  • ทำงานแค่จุดเดียว (จำกัดวงแคบ)
  • ใช้คอมเพรสแอร์มากกว่า

เครื่องสร้างแรงสั่นของถังพักเก็บขี้เถ้า(Hopper Vibrator)

ใช้การสั่นสะเทือนไปที่กองฝุ่น

 
  • มีประสิทธิภาพเท่าโซนิคฮอร์น
  • ทำความเสียหายกับผนังถังพักเก็บขี้เถ้าเนื่องจากความล้าของการสั่นสะเทือน

โซนิคฮอร์นสามารถใช้ในเครื่องมืออื่นๆหรือไม่

โซนิคฮอร์นสามารถใช้ในพื้นที่ไหนก็ได้ที่มีฝุ่นและต้องการกำจัดฝุ่น อาทิเช่น เครื่องดักฝุ่นชนิดถุงกรอง (ฺBag House) เครื่องอุ่นน้ำป้อนหม้อไอน้ำ (Economizer) ไซโล พัดลมID เครื่องแลกเปลี่ยนความร้อน (Heat Exchanger) ติดต่อตัวแทนฝ่ายขายของเราเพื่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ทางเรายินดีให้คำปรึกษาถึงพื้นที่ติดตั้งที่เหมาะสมกับความต้องการของคุณเพื่อช่วยแก้ปัญหาฝุ่นจับตัวกัน