ประเภทการใช้งาน
โรงถลุงแร่ในประเทศอินโดนีเซีย
ปัญหาที่พบ
- คอนโทรลเลอร์เดิมแสดงผลไม่น่าเชื่อถือ เช่น หนึ่งในสองห้องแสดงค่า mA สูงสุดแต่อัตราการเกิดสปาร์คสูงมาก
- การสปาร์คจำนวนมากทำให้สันนิษฐานได้ว่าอาจจะเกิด Back Corona
- มีปริมาณฝุ่นออกปล่องมากเกินกำหนด
- หม้อแปลงไฟฟ้าและคอนโทรลเลอร์เก่ามาก
วิธีแก้ปัญหา
ทางเราได้แนะนำให้ติดตั้งหม้อแปลงไฟฟ้าความถี่สูง (Power Plus) แทนหม้อแปลงไฟฟ้าแบบธรรมดา ซึ่งไทชุนได้ทำการเปลี่ยนหม้อแปลงไฟฟ้าความถี่สูงจำนวน 2 ตัวขนาด 83 kV,1155 mA, โดยติดตั้งที่ห้องแรกจากทั้งหมด 2 ห้อง และยังได้ติดตั้งตู้คอนโทรลใหม่อีกด้วย




ประโยชน์ที่ได้รับ
หลังจากที่ติดตั้งหม้อแปลงความถี่สูง ทำให้มีค่าการเดินเครื่องที่เสถียรและแสดงผลได้น่าเชื่อถือ อีกทั้งหน้าจอยังใช้งานง่ายและยังสามารถบันทึกค่าในการเดินเครื่องได้อีกด้วย
เนื่องจากส่วนประกอบวงจรและการทำงานของเครื่องหม้อแปลงความถี่สูงสามารถส่งกระแสและแรงดันไฟฟ้าไปยัง ESP ได้มากขึ้น ให้ kVA น้อยกว่าต่อการส่งออกกิโลวัตต์ และกิโลโวลต์สูงขึ้นเมื่อเทียบกับหม้อแปลงแบบธรรมดา หม้อแปลงความถี่สูงผลิต output แรงดันยอดที่อยู่ใกล้กับริปเปิ้ลที่ต่ำ
นอกจากนี้หลังจากการอัพเกรด ESP โดยใช้หม้อแปลงความถี่สูง ข้อมูลการเดินเครื่องปรับตัวดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ kV และ mA มีค่าสปาร์คต่อนาทีน้อยลงกว่าเดิม เนื่องจากหม้อแปลงความถี่สูง ใช้ระบบ IGBT และเดินเครื่องที่ความถี่สูง ดังนั้นเครื่องถึงสามารถรับรู้ได้หากเกิดอาร์คและควบคุมได้อย่างรวดเร็วภายใน 30 ไมโครวินาที เป็นผลให้หม้อแปลงความถี่สูงสามารถปรับตัวได้อย่างรวดเร็ว เนื่องจากการประมวลผลสัญญาณดิจิตอล (DSP) ดังนั้น จึงสามารถสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจนว่าหม้อแปลงไฟฟ้าความถี่สูงสามารถเพิ่มประสิทธิภาพทั้งกระแสและแรงดันไฟฟ้า
ตารางด้านล่างนี้แสดงค่ากระแสและแรงดันไฟฟ้าหลังจากอัพเกรดเป็นหม้อแปลงไฟฟ้าความถี่สูง
ESP | Converting-ESP | Sintering- ESP | |
หม้อแปลงแบบธรรมดา | kV | 30.2 | 61.5 |
mA | 58.8 | 250.7 | |
หม้อแปลงความถี่สูง | kV | 53 | 75 |
mA | 582 | 442 |




กระแสไฟฟ้าที่มากขึ้นจะช่วยทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของ ESP และการดักจับฝุ่นดีขึ้นในระดับหนึ่ง แต่การอัพเกรดเครื่องด้วยการติดตั้งหม้อแปลงไฟฟ้าความถี่สูงในการเดินเครื่องจะให้ผลลัพธ์และมีประสิทธิภาพในการจับฝุ่นที่ดีกว่าเดิมมาก